สถานการณ์ราคาในช่วง ระหว่างปี 2556-2559

สถานการณ์ลำไย (ปี 2556-2559)

“สถานการณ์ลำไย ปี 2556 ในพื้นที่แหล่งผลิตที่สำคัญ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 447,108 ตัน คือ จังหวัดเชียงใหม่ 266,937 ตัน เชียงราย 56,270 ตัน ลำพูน 192,067 ตัน ลำปาง 5,605 ตัน พะเยา 26,685 ตัน แพร่ 2,670 ตัน น่าน 14,890 ตัน และตาก 13,389 ตัน ลดลงจาก ปี 2555 (473,686 ตัน) ร้อยละ 5.61  ขณะนี้ลำไยในฤดู (เดือนกรกฎาคม ตุลาคม) ออกสู่ตลาดมากกว่า 90% แล้ว ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ปี 2555 เท่ากับ 9001,100 กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตลำไย 1 ไร่ปี 2555 เท่ากับ 8,362.07 บาท”

ข่าวแนวหน้า : http://www.naewna.com/local/68869

จากรายงานข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลผลิต ลำไย ภายในประเทศปีนี้ลดลงมาก เนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน หนักไปทางร้อน และปริมาณน้ำฝนภายในประเทศลดลง ทำให้ผลผลิตลำไยลดลง ในขณะที่ความต้องการลำไยภายในประเทศก็มีมากขึ้น เนื่องจากมีนักธุรกิจชาวจีนเข้ามาเปิดกิจการมากขึ้น ซึ่งราคาของลำไยก็ขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ราคาขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละปี ในการเหมาสวนปี 2556 และเก็บผลผลิตปี 2557 นี้ เนื่องจากผลผลิตลำไยลดลง ทำให้ลำไยขาดตลาดมากราคาจึงสูงขึ้น มีการแข่งขันเหมาสวนโดยดูแต่ใบ และประวัติผลผลิตปีล่าสุด เพื่อแย่งพื้นที่สวนที่ผลิต ลำไย ในช่วงฤดูกาลผลิต ปี 2557 (เก็บ 2558) จะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปี 2558 (เก็บ 2559) แนวโน้มราคายังไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และผลผลิตของพื้นที่การปลูกลำไยทีเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศรอบๆ บ้านใกล้เคียง ซึ่งจะสามารถเก็บผลผลิตลำไยได้ ซึ่งก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับประเทศไทย

ความต้องการลำไยในตลาดโลก

ปัจจุบัน ลำไย เป็นผลไม้ที่สามารถผลิตได้ในหลายประเทศทั่วโลก แต่คุณภาพของลำไย และต้นทุนในการผลิตในประเทศไทยยังถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มพื้นที่สวนลำไยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงประเทศกัมพูชาด้วย ซึ่งจะเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในอนาคต แต่เนื่องจากกัมพูชามีปัญหาเรื่องพายุเกือบตลอดปี  ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณน้ำจะมีมากกว่าประเทศไทย  แม้ว่าคุณภาพความหวานจะด้อยกว่าประเทศไทย แต่ลูกลำไยจะมีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยมาก ดังนั้นหากกัมพูชาแก้ปัญหาเรื่องมีน้ำมากเกินจนทำให้เปลือกแตกได้ รวมไปถึงค่าแรงงานที่มีราคาถูกกว่าประเทศไทย  จะทำให้ลำไยของกัมพูชาทะลักเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น จนทำให้ราคาลำไยภายในประเทศไทยมีแนวโน้มราคาตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย (เหมือนสถานการณ์ข้าวโพดในปี 2552-2554 จนเมื่อข้าวโพดขาดตลาด เพราะเกษตรกรหนีมาปลูกยางพารา และลำไยกันมากขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาข้าวโพดสูงขึ้นอย่างมากในปี 2556 นี้ ปัจจุบันเกษตรกรหลายราย จึงเริ่มหันกลับมาปลูกข้าวโพดกันมากขึ้น เพราะเก็บผลผลิตได้เร็ว และมีแนวโน้มดีกว่าปลูกยาง มันสัมปะหลัง และลำไยมาก จึงอาจสรุปได้ว่า  การคาดการณ์ราคาซื้อขายลำไยในประเทศไทยในปี 2558 (เก็บ 2559) จะมีแนวโน้มลดลงมาก ดังนั้นเจ้าของสวนลำไย และผู้ที่คิดจะปลูกลำไยใหม่ในช่วงปี 2555-2558 ต้องเตรียมใจหากราคาลำไยของจันทบุรี ที่ราดสารในเดือนมีนาคม 2558 (เก็บตุลาคม 2559) อาจจะมีราคาลดลงเหลือเพียง 25-30 บาท  และลำไยที่ราดสารในเดือนสิงหาคม 2558 (เก็บมีนาคม) 2559 อาจมีราคาลงเหลือเพียงประมาณ 38-42 บาท  ซึ่งจะเป็นราคาที่ให้กับสวนใหญ่ที่มีผลผลิตปริมาณมากเท่านั้น ส่วนสวนขนาดเล็ก หรือ ลำไย ตามบ้านอาจจะมีราคาต่ำกว่าที่ประมาณการไว้มาก หรือบางทีอาจจะไม่มีนายหน้ามารับซื้อเลยก็เป็นไปได้..


ที่มา : https://www.gotoknow.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น